วันอาทิตย์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

การเผยแพร่สารสนเทศด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ



การแผยแพร่สารสนเทศห้องสมุด

                การเผยแพร่สารสนเทศ (Information dissemination) เป็นช่องทางสำคัญในการสื่อเพื่อเผยแพร่สารสนเทศจากแหล่งหนึ่งไปยังอีกแหล่งหนึ่ง เช่น จากผู้เขียนไปยังผู้อ่าน จากสถาบันบริการสารสนเทศไปยังผู้ใช้ เป็นต้น สารสนเทศที่เผยแพร่อาจอยู่ในรูปของข้อความ ตัวเลข เสียง ภาพ มัลติมิเดีย และอาจบันทึกไว้บนกระดาษ สื่อโสตทัศน์ สื่อแม่เหล็ก หรือสื่อออปติก
บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศในการเผยแพร่สารสนเทศ
                ปัจจุบันการเผยแพร่สารสนเทศทำได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ยืดหยุ่นและประหยัด เนื่องจากเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่เปลี่ยนแปลงกระบวนการเผยแพร่สารสนเทศทั้งในระหว่างบุคคล ไปสู่กลุ่มผู้ใช้ หรือแก่สาธารณะโดยอินเทอร์เน็ตได้เข้ามามีบทบาทในการสื่อสารทั้งในระดับบุคคล กลุ่มบุคคล ภายในหน่วยงาน ระหว่างหน่วยงานโดยไม่จำกัดเวลาและสถานที่
                บริการที่สำคัญบนอินเทอร์เน็ตที่นำมาใช้ในการเผยแพร่สารสนเทศอย่างแพร่หลายนั้น คือ ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นการสื่อสารระหว่างบุคคล ทำให้สามารถจัดส่งสารสนเทศในรูปอิเล็กทรอนิกส์ไปถึงผู้ใช้แต่ละคนได้อย่างสะดวก กลุ่มสนทนาทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นการสนทนาร่วมกันในกลุ่มสมาชิกในหัวข้อใดหัวข้อหนึ่งกระดานสนทนา (web board) เป็นกระดานสนทนาในหัวข้อใดหัวข้อหนึ่ง แต่เปิดกว้างให้กับสารธารณะชน และเวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web) หรือ (web) ซึ่งเป็นการบริการเผยแพร่ข้อมูล ข่าวสาร หรือสารสนเทศทางระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในรูปแบบที่เรียกว่า ไฮเปอร์เท็กซท์ (hypertext) และจัดเป็นบริการสำคัญที่ใช้กันอย่างกว้างขวางที่สุด
                ดังนั้น หากพิจารณาบทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อการเผยแพร่สารสนเทศแล้ว อาจจำแนกบทบาทดังกล่าวออกเป็นด้าน คือ การเป็นช่องทางในการเผยแพร่สารสนเทศ และการขยายขอบเขตของทรัพยากรสารสนเทศ จากเดิมที่อยู่ในรูปกระดาษ สื่อโสตทัศน์ประเภทต่างๆ ไปอยู่ในรูปอิเล็กทรอนิกส์หรือดิจิทัล
              บริการเผยแพร่สารสนเทศในวงวิชาการจัดเป็นบริการสำคัญที่สถาบันบริการสารสนเทศต่างๆจัดขึ้น เพื่อช่วยเผยแพร่สารสนเทศจากแหล่งต่างๆไปยังผู้ใช้ที่มีความต้องการสารสนเทศ เช่น นักเรียนนักศึกษาต้องทำรายงาน นักวิจัย นักวิชาการและคณาจารย์ต้องการติดตามสารสนเทศใหม่ๆในหัวข้อเฉพาะตามความสนใจรูปแบบสิ่งพิมพ์ซึ่งเป็นผลจากการเผยแพร่สารสนเทศในวงวิชาการ ทั้งนี่อาจจำแนกประเภทของการเผยแพร่สารสนเทศในวงวิชาการตามเวลาในการตีพิมพ์และเผยแพร่ และตามแหล่งที่มา

ความหมายของห้องสมุด
                ห้องสมุด ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Library มาจากในภาษาละตินว่าLiber แปลว่า หนังสือห้องสมุด หมายถึง สถานที่รวบรวมและให้บริการวัสดุหรือทรัพยากรสารสนเทศแก่สมาชิกโดยมีบรรณารักษ์เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการตั้งแต่จัดหา การจัดเก็บและการให้บริการ ตลอดจนดูแลบำรุงรักษาทรัพยากรสารสนเทศ ในปัจจุบันจากการพัฒนาบทบาทของเทคโนโลยีด้านต่างๆโดยเฉพาะเทคโนโลยีสารสนเทศมีการผลิตวัสดุสารสนเทศจำนวนมากทั้งปริมาณและรูปแบบที่หลากหลาย การค้นหาข้อมูลสารสนเทศสามารถสืบค้นได้ทั่วโลกโดยผ่านอินเตอร์เน็ต ห้องสมุดมีการเปลี่ยนแปลงมีการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ดำเนินการเพื่อพัฒนาระบบจัดเก็บค้นหาและเผยแพร่สารสนเทศของห้องสมุดได้ทันต่อความก้าวหน้าของวิทยาการและข่าวสารต่างๆที่ออกมาทุกรูปแบบบริการเผยแพร่สารสนเทศ
ประเภทของทรัพยากรสารสนเทศ
                  ทรัพยากรสารสนเทศ  หรือวัสดุสารสนเทศห้องสมุดแบ่งออกเป็น  2  ประเภท คือ
                 1.วัสดุ สิ่งพิมพ์  (Printed materials)  หรือวัสดุตีพิมพ์    
                 2.วัสดุไม่ใช่สิ่งพิมพ์  (Non-printed materials)  หรือวัสดุไม่ตีพิมพ์
ประเภทของบริการเผยแพร่สารสนเทศ
                  1.  บริการอ้างอิงหรือบริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า (Reference Services)
                          1.1 บริการอ้างอิงระดับพื้นฐาน
                          1.2  บริการอ้างอิงในระดับลึก

                  2.  บริการข่าวสารทันสมัย (Current Awareness Services)
                          2.1.  บริการหมุนเวียนวารสาร (Routing service)
                             2.2.  บริการเผยแพร่สารสนเทศเฉพาะบุคคล    

               ความสำคัญของบริการ
                            1.  ทำให้ติดตามความก้าวหน้าในสาขาวิชาที่สนใจได้ทันเวลา          
                            2.  ใช้ไม่ต้องเสียเวลาในการอ่านสารสนเทศทั้งหมด
                         3.  ทำให้ผู้ใช้ได้รับสารสนเทศที่ทันสมัย เพื่อใช้ในการทำงาน
ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ          
          คำว่า”เทคโนโลยีสารสนเทศ” หรือ”Information Technology” ตรงกับคำศัพธ์ที่ว่า”Informatique” ซึ่งหมายถึง “การนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีอื่นๆ มาใช้ในงานที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจและสังคม” นอกจากนี้ยังมีความหมายที่ใกล้เคียงกันคือ”Telematioque” หมายถึง “การบูรณาการระหว่างคอมพิวเตอร์กับการสื่อสาร” และคำว่า “Burotique” หมายถึง สำนักงานอัตโนมัติ ดังนั้นเมื่อมีการนำคำศัพท์ภาษาอังกฤษทั้งสองคำมาใช้แทนคำว่าเทคโนโลยีสารสนเทศ จึงได้คำว่า “Informatic” ซึ่งมีความหมายเช่นเดียวกันกับ”Informatique” แต่คำเหล่านี้ไม่เป็นที่นิยมมากนัก ในสหรัฐอเมริการก็ได้มีการบัญญัติคำศัพท์ว่า “Teleputer” ขึ้นมาใช้แต่ก็ไม่เป็นที่นิยมเช่นกัน
        คำว่า “สารสนเทศ” หรือ “สารนิเทศ” ตรงกับคำศัพท์ภาษาอังกฤษว่า “Information” ซึ่งราชบัณฑิตยสถานบัญญัติให้ใช้คำศัพท์ทั้งสองคำแทนคำว่า Information ได้ในวงการคอมพิวเตอร์การสื่อสาร และวงการธุรกิจ ส่วนใหญ่นิยมใช้คำว่าสารสนเทศมากกว่า         
           “สารนิเทศ” มีความหมายถึง ข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ต่าง ๆ ที่มีการบันทึกอย่างเป็นระบบตามหลักวิชาการเพื่อนำมาเผยแพร่และใช้งานทุกสาขาทุกด้าน  ส่วนคำว่า “เทคโนโลยีสารสนเทศ”(Imformation Technology:IT) เรียกสั้นๆว่า “ไอที” มีความหมายเน้นถึงขั้นตอนการดำเนินงานและการจัดการในกระบวนการสารสนเทศหรือสารนิเทศ ตั้งแต่การเสาะแสวงหาการวิเคราะห์ การจัดเก็บ การจัดการ และการเผยแพร่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความถูกต้อง ความแม่นยำ และความรวดเร็วทันต่อการนำมาใช้ปประโยชน์           
             บีแฮนและโฮลัมส์ ให้ความหมายไว้ว่า “เทคโนโลยีสารสนเทศหมายถึง เทคโนโลยีที่ทำให้มนุษย์สามารถสร้างระบบสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ จนทำให้เกิดประสิทธิผลและประโยชน์อย่างมหาศาล ได้แก่ การใช้ทำเบียนข้อมูล การจัดเก็บ การประมวลผลการค้นคืน การส่งและรับสารสานเทศต่าง ๆ ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ต่าง ๆ เช่น คอมพิวเตอร์ โทรสาร โทรคมนาคม และไมโครอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งเทคโนโลยีเดิมที่ใช้ในระบบจัดเรียงเอกสาร เครื่องทำบัญชีอัตโนมัติ เป็นต้น”       
             มหาวิทยาลัยสุโยทัยธรรมาธิราช ให้ความหมายว่า “เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง เทคโนโลยีทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับสารสนเทศ เมจากเทคโนโลยีเดิมที่ใข้ในการจัดเก็บ ประมวลผล แสดงผล และเผยแพร่สารสนเทศในรูปของข้อมูล ข้อความและเรื่อง โดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีโทรคมนาคม        
               สรุป “เทคโนโลยีสารสนเทศ คือ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่ทำให้เกิดวิธีการใหม่ ๆ ในการจัดเก็บข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ การส่งผ่าน การสื่อสารสารสนเทศ การเข้าถึงสารสนเทศ การรับสารสนเทศ รวมถึงการสร้างสังคมและอุตสาหกรรมด้านสารสเทศ และการจัดการสารสนเทศให้มีประสิทธิภาพ

ที่มา : อ้างอิง ปัทมาพร  เย็นบำรุง. (2545). การเผยแพร่สารสนเทศห้องสมุด . นนทบุรี : อัมรินการพิมพ์. เข้า      ถึงได้จาก :  www : http://55191030243.blogspot.com. [ออนไลน์].สืบค้นเมื่อ 23 กรกฎาคม 2561.